นวัตกรรมด้านการบริหาร “PMR PLUS MODEL”

          นวัตกรรมโดยใช้ PMR PLUS MODEL ของโรงเรียนพญาเม็งราย จังหวัดเชียงราย โดยให้ผู้เรียนมี “สุขภาพดี ยิ้ม ไหว้ ทักทาย” มีวัตถุประสงค์เพื่อนำนวัตกรรม มาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการและดำเนินงานให้สอดคล้องกับบริบทและสภาพปัญหาของโรงเรียน โดยใช้เทคนิคกระบวนการวงจรคุณภาพของเดมิ่ง PDCA ในกระบวนการดำเนินงาน ภายใต้รูปแบบ PMR PLUS MODEL ของโรงเรียนพญาเม็งราย ดังนี้

P = Professional (มืออาชีพ) หมายถึง การทำงานเป็นทีม การทำงานที่มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพ จัดโครงสร้างองค์กรแบบกระจายอำนาจ แบ่งเป็น 5 ฝ่าย คือ ฝ่ายบริหารวิชาการ ฝ่ายบริหารทั่วไป ฝ่ายบริหารกิจการนักเรียน ฝ่ายบริหารแผนงานและงบประมาณ และฝ่ายบริหารอำนวยการ แต่ละฝ่ายมีหน่วยงานย่อยๆ   มีหัวหน้างาน หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ และหัวหน้าฝ่ายเป็นผู้นำในการบริหารงาน โรงเรียนแบ่งงาน บทบาท หน้าที่ และภารกิจโดยใช้หลักธรรมภิบาล ทำให้ครู บุคลากรรู้จักทำงานเป็นทีม (Team) ภายใต้หลักการ คือ

    T – Trust คือ สมาชิกในทีมมีความไว้วางใจซึ่งกันและกันในการปฏิบัติงาน
    E – Empathy คือ สมาชิกในทีมมีความเข้าอกเข้าใจซึ่งกันและกัน
    A – Agreement คือ สมาชิกในทีมมีข้อตกลงในการปฏิบัติงานร่วมกัน
    M – Mutual Benefit  คือ สมาชิกในทีมมีความรับผิดชอบร่วมกันและมีเป้าหมายเดียวกัน

M = Morality (จรรยาบรรณ,คุณธรรม, จริยธรรม) หมายถึง บุคลากรประพฤติปฏิบัติตนตามหลักธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพครู

R = Responsibility (ความรับผิดชอบ) หมายถึง บุคลากรมีความรับผิดชอบต่อตนเอง องค์กร และชุมชน

P = Policy (นโยบาย) หมายถึง การจัดกระบวนการทำงานที่สอดคล้องกับนโยบาย ภารกิจของโรงเรียน

L = Learning (การเรียนรู้) หมายถึง การส่งเสริมให้บุคลากร ผู้เรียนเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ มีทักษะชีวิต และทักษะสุขภาพ

U = Utility (คุณประโยชน์) หมายถึง เสริมสร้างประโยชน์ให้กับชุมชน องค์กร บุคลากร ผู้เรียน มีความเป็นพลเมือง มีสำนึกอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม

S = Stakeholder (ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย) หมายถึง นักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน บุคลากรในโรงเรียน ร่วมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการร่วมมือพัฒนาโรงเรียนสุขภาวะ เน้นรูปแบบการทำงานแบบมีส่วนร่วม จัดประชุมเป็นนิจประจำทุกเดือน ปฏิบัติเป็นนิสัย เพื่อเปิดกว้างในการรับฟังความคิดเห็นของครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครอง  ศิษย์เก่า  ชุมชนในท้องถิ่น โดยผู้นำระดับสูงมอบหมายงานให้ปฏิบัติกิจกรรมโครงการตามความรู้ความสามารถ มีคำสั่งแต่งตั้งในรูปแบบคณะกรรมการในแต่ละขั้นตอน กิจกรรมอย่างชัดเจน เปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วม ในการวางแผนการทำงาน เพื่อให้บรรลุตามวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย มุ่งมั่นพัฒนาการศึกษาตามมาตรฐานสากล มีการเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กร ที่มีลักษณะเปิดกว้างทางการสื่อสารหลากหลายช่องทางผ่านระบบเครือข่าย โซเซียลมีเดีย ในการแจ้งข่าวสารแนวทางปฏิบัติ แลกเปลี่ยน ข้อชี้แนะ ตอบข้อสงสัย มีการประชุมแจ้งขั้นตอนกระบวนการในการดำเนินกิจกรรมตามแผนงานโครงการทุกครั้ง มีกระบวนการดำเนินงานเกิดผลการดำเนินการที่ดี บุคลกรในโรงเรียน เกิดความผูกพันต่อองค์กรปฏิบัติงานแบบมืออาชีพ มีความรับผิดชอบต่อตนเอง องค์กร และชุมชน บุคลากรนำองค์ความรู้ที่ได้มาพัฒนาเกิดเป็นวัฒนธรรมองค์กร มีการประเมินความพึงพอใจต่อวัฒนธรรมองค์กรและศึกษาความต้องการของบุคลากรเพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาองค์กร มีการนิเทศจากหัวหน้าฝ่าย หัวหน้างาน กลุ่มสาระการเรียนรู้  ส่งผลให้ครูและบุคลากร มีความรู้ ความสามารถ ขวัญและกำลังใจที่ดี  ปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพครู  มีการทำงานเป็นทีมและเรียนรู้วัฒนธรรมองค์กร  กำหนดรูปแบบการรายงานผลการปฏิบัติงาน (R Repent) ทุกงาน ทุกกิจกรรมตามเป้าหมายโครงการ ประกาศผลการประเมินวัฒนธรรมองค์กรให้บุคลากรทราบ พร้อม นำผลการประเมินทบทวนพัฒนา ปรับปรุงแผนกลยุทธ์ให้สอดคล้องมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น